เคยสงสัยไหม? ทำไมผู้สร้างคริปโตหลายโปรเจกต์ถึงเลือกที่จะ”ไม่เปิดเผยตัวตน” แต่กลับใช้นามแฝง แทนบุคคล หรือกลุ่มคนผู้อยู่เบื่องหลัง อะไรทำให้การเป็น ”นิรนาม” เป็นที่นิยมในสังคมคริปโต เรามาดูตัวอย่างผ่าน 3 เหรียญนี้กันเลย
Bitcoin (BTC) – ซาโตชิ นากาโมโตะ (Satoshi Nakamoto)
บิทคอยน์เหรียญแรกถือกำเนิดขึ้นจากการปล่อยไวท์เปเปอร์ “บิทคอยน์ – ระบบเงินสดแบบอีเล็คโทรนิคส์แบบ Peer-to-peer” ในวันที่ 31 ต.ค. ปี 2551 โดย “ซาโตชิ นากาโมโตะ” (Satoshi Nakamoto)
จนถึงทุกวันนี้ยังไม่มีใครรู้ว่า ซาโตชิ คือใคร เขาอาจไม่มีตัวตนอยู่จริง หรือเป็นเพียงนามแฝงเท่านั้น จึงไม่มีใครรู้เลยว่าจริงๆแล้วเค้าอายุเท่าไหร่ เพศอะไร เป็นคนที่ไหน หรืออาจจะมีหลายคนก็ได้ ซึ่งตัวตนที่แท้จริงของเขายังคงเป็นปริศนาจนถึงทุกวันนี้ แม้จะมีคนพยายามอ้างว่าเป็นซาโตชิตัวจริงอยู่บ่อยครั้ง แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้
Apecoin (APE) – Emperor Tomato Ketchup, Gordon Goner, Gargamel และ No Sass
เจ้าลิงขี้เบื่อแห่งวงการคริปโต Bored Ape Yacht Club คอลเล็กชั่นภาพสะสม NFT สร้างโดย Yuga Labs ซึ่งเผยว่ามีผู้ก่อตั้งที่แท้จริงเพียง 2 คนซึ่งใช้นามแฝงว่า “Gordon Goner” และ “Gargamel” และมีเพียง CEO อย่าง Nicole Muniz ที่คอยรับหน้าสื่อตอบคำถามต่างๆ แต่นักข่าวสายขุดก็ไปบนว่าแท้จริงแล้วผู้ก่อตั้งทั้งคู่คือหนุ่มฟลอริดาชื่อ Wylie Aronow (Gordon Goner) และนักเขียน Greg Solano (Gargamel) ส่วนภาพกราฟฟิกหลักๆ วาดโดยศิลปินอิสระ Seneca ที่ทั้งสองคนนี้ว่าจ้างให้วาดภาพให้ และยังมีทีมวิศวกรที่ร่วมก่อตั้งอีก 2 คนใช้นามแฝงว่า “Emperor Tomato Ketchup” และ “No Sass” ที่ยังไม่เปิดเผยตัว
Raydium (RAY) – AlphaRay, XRay, GammaRay, StingRay และ RayZor
โปรโตคอล Raydium ซึ่งเป็น AMM บนบล็อกเชน Solana ผู้ถือ RAY สามารถวางสเตกและร่วมออกคะแนนเสียงบริหารและกำหนดทิศทางของระบบได้ โดยผู้ก่อตั้งจะใช้นามแฝงที่มีคำว่า “ray” ในชื่อโดยมี AlphaRay ผู้ก่อตั้ง, XRay นักพัฒนาเทคโนโลยี, StingRay ผู้พัฒนาอาวุโส ดูแลเรื่องของการ on-chain ทั้งหมด, RayZor ผู้ดูแลบริหารด้านความเสี่ยงและความปลอดภัยต่างๆ และที่ขาดไม่ได้คือ GammaRay ซึ่งบิทาซซ่าเคยได้รับเกียรติพูดคุยกับเค้าสดใน Live AMA ด้วย! โดย GammaRay ดูแลด้านการตลาดและการสื่อสารทั้งหมด
ถึงแม้สาเหตุว่าทำไมผู้ก่อตั้งเหล่านี้ต้องการปกปิดตัวตนจะไม่ชัดเจน แต่พวกเข้าก็ประโยชน์หลายประการเช่นกัน
- เป็นอิสระจากการตัดสินเพียงคุณสมบัตภายนอก ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างหน้าตา การศึกษา ชนชั้นทางสังคม เพศ หรือเชื้อชาติ พวกเขาเชื่อว่าเป็นวิธีที่ยุติธรรมที่สุดในการมองคุณภาพของงานที่เขาทำเท่านั้น
- หลีกเลี่ยงการแทรกแทรง ป้องกันผู้ก่อการร้าย และอาชญากร เพราะการเชื่อมโยงตัวตนในโลกคริปโตและตัวตนในโลกแห่งความเป็นจริงอาจทำให้ถูกขุดข้อมูลส่วนตัวได้
ซึ่งวิธีหนึ่งที่เป็นกลางและสามารถเข้าร่วมได้โดยสมัครใจโดยสามารถเป็นนิรนามได้ คือการจัดตั้ง DAO (องค์กรอิสระที่กระจายอำนาจ) นั้นเอง.
ในทางกลับกัน คุณจะให้ความเชื่อมั่น เชื่อถือในโปรเจกต์ได้อย่างไรถ้าคุณไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นใคร?
ยิ่งโครงการโตขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งยากที่จะไม่มีใครรู้ เห็นตัวอย่างจากทีมผู้ก่อตั้ง BAYC ถึง 2 คนที่ถูกเปิดเผยตัวตน แล้วคุณหละมีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง คอมเมนท์บอกเราในโพสเลย!
คำเตือน: คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
More from เกี่ยวกับการสอน
สรุปการบรรยายความรู้สุดพิเศษ: “Not Your Keys, Not Your Coins – Self-custody for Individuals and Organizations”
สรุปการบรรยายความรู้สุดพิเศษที่บิทาซซ่าร่วมจัดขึ้นกับ Ledger พันธมิตรผู้นำโซลูชันความปลอดภัยระดับโลกทางด้านคริปโตและเทคโนโลยี Web3 ในหัวข้อ “Not Your Keys, Not Your Coins - Self-custody for Individuals and Organizations” โดย คุณ Benjamin …
ทำความรู้จักกับ Soulbound โทเคน (SBTs)
ชวนชาวบิทาซซ่าเปิดโลกแห่งเทคโนโลยีบล็อกเชนและ Web3 ให้มากขึ้น มาทำความรู้จักกับ Soulbound โทเคน (SBTs) กันเลย! . Soulbound โทเคน (SBTs) คืออะไร? Soulbound Tokens (SBTs) เป็น NFTs ที่ไม่สามารถโอนย้ายได้ซึ่งเป็นตัวแทนบ่งบอกถึงคุณลักษณะ ชื่อเสียง ของแต่ละบุคคลหรือองค์กรนั้นๆ โดยแนวคิดของ Soulbound …
สรุปประเด็นจาก Special Live AMA : Fuse
สรุปประเด็นจาก Special Live AMA: Fuse พันธมิตรผู้ร่วมสร้างระบบนิเวศของผลิตภัณฑ์วอลเล็ท Web3 นำโดยคุณอาท กวิน พงษ์พันธ์เดชา ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบิทาซซ่า และ คุณดีดี้ วิมลพรรณ วิบูลย์มา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการสื่อสารและการตลาดบิทาซซ่า ที่จะมาสรุปประเด็นที่น่าสนใจจากการร่วมพูดคุย ถามตอบกับคุณ Mark Smargon ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ …