สรุปการบรรยายความรู้สุดพิเศษที่บิทาซซ่าร่วมจัดขึ้นกับ Ledger พันธมิตรผู้นำโซลูชันความปลอดภัยระดับโลกทางด้านคริปโตและเทคโนโลยี Web3 ในหัวข้อ “Not Your Keys, Not Your Coins – Self-custody for Individuals and Organizations” โดย คุณ Benjamin Timon, Ledger’s Technical Account Manager
Not Your Keys, Not Your Coins – การเก็บรักษาสินทรัพย์ด้วยตัวเองสำหรับบุคคลและองค์กร
Self-custody หรือ การเก็บรักษาสินทรัพย์ด้วยตัวเองนั้นถือว่าเป็นหัวใจหลักสำคัญของระบบนิเวศในโลกของคริปโตและเป็นคุณค่าที่ Ledger สนับสนุนอย่างต่อเนื่องและทำให้มันเกิดขึ้นจริง รวมถึงเราสร้างโซลูชันความปลอดภัยและกระเป๋าเงินฮาร์ดแวร์เพื่อมอบพลังให้กับคีย์ของผู้ใช้งานและการใช้งานร่วมกับ Web3 ได้อย่างปลอดภัย
.
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ที่นำพาไปสู่การล้มละลายของ FTX เรื่องของการเก็บรักษาสินทรัพย์ด้วยตัวเองนั้นจึงมีความสำคัญมากขึ้นกว่าที่เคยมีมาก่อน ซึ่งแต่ว่าจริงๆ แล้วการเก็บรักษาสินทรัพย์ด้วยตัวเองนั้นคืออะไรกันแน่? ทำไมมันถึงสำคัญกับโลกของคริปโต? รวมถึง บุคคลและองค์กรนั้นจะสามารถให้การยอมรับการเก็บรักษาสินทรัพย์ด้วยตัวเองเพื่อทำให้ระบบนิเวศนั้นสามารถปรับตัวดูแลตัวเองได้มากขึ้นได้อย่างไร?
ว่ากันด้วยเรื่องของความเป็นเจ้าของ
ใครก็ตามที่อาจจะคุ้นเคยกับวงการคริปโตและได้ยินสำนวนที่ว่า “Not Your Keys, Not Your Coins”
ซึ่งกรอบความคิดเบื้องหลังของสำนวนนี้ก็คือในวงการคริปโตคุณจะเป็นเจ้าของสินทรัพย์ของคุณเองเท่านั้นถ้าหากคุณเป็นเจ้าของคีย์ส่วนตัว
.
โดยในโลกของ Web3 นั้นความเป็นเจ้าของจะไม่ถูกเชื่อมกับบัญชีผู้ใช้งานหรือที่อยู่อีเมลแต่มันจะถูกเชื่อมกับคีย์ โดยการที่จะโอนคริปโตนั้นคุณต้องลงนามยืนยันการทำธุรกรรมกับคีย์ส่วนตัวเพื่อพิสูจน์ว่าคุณเป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นจริงและคุณต้องเป็นผู้อนุมัติการทำธุรกรรมนั้น ดังนั้นคีย์จึงมีความสำคัญและเป็นตัวแทนของความเป็นเจ้าของในโลกของคริปโต ถ้าคุณไม่ได้เป็นเจ้าของคีย์นั้นคุณก็จะไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์นั้นเช่นกัน
ทำไมการเก็บรักษาสินทรัพย์ด้วยตัวเองจึงสำคัญ?
ในฐานะผู้ใช้งาน การจัดการคีย์ของคุณเองมีความสำคัญเพราะว่ามันจะช่วยเพิ่มการกระจายศูนย์อำนาจและความสามารถในการปรับตัวดูแลตัวเองของระบบนิเวศ
.
เมื่อคุณไม่ได้เป็นเจ้าของคีย์ของคุณ คุณต้องเชื่อใจบุคคลที่สาม เช่น ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ ศูนย์ซื้อขายแลกเปลี่ยนเพื่อจัดการสินทรัพย์ในฐานะตัวแทนของคุณ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำพาไปสู่การรวมศูนย์ของสินทรัพย์และหากมีปัญหาเกิดขึ้นเพียงหนึ่งจุดมันก็จะสร้างผลกระทบต่อเนื่องเป็นวงกว้าง อีกทั้งมันเป็นสิ่งที่เราสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนจากการล้มละลายของ FTX ที่มีผู้คนกว่าล้านคนเชื่อใน FTX ให้ดูแลจัดการสินทรัพย์และท้ายที่สุดสูญเสียสินทรัพย์ทุกอย่างไปเหมือนราวกับว่าพวกเขาไม่เคยมีความเป็นเจ้าของในสินทรัพย์นั้นเลยแม้แต่น้อย
.
นี่จึงเป็นสิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงเหมือนตอนที่คริปโตถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ Satoshi Nakamoto สร้าง Bitcoin โดยมีวิสัยทัศน์เพื่อสร้างโปรโตคอลการกระจายศูนย์อำนาจที่แต่ละบุคคลนั้นสามารถจัดการคีย์ของตัวเอง เป็นธนาคารให้กับตัวเอง และ ไม่ไปขึ้นอยู่กับบุคคลที่สามอย่างในระบบการเงินดั้งเดิม
.
ซึ่งการเก็บรักษาสินทรัพย์ด้วยตัวเองนั้นมีความสำคัญแต่จะมาพร้อมกับความรับผิดชอบที่มากขึ้นเมื่อคุณเป็นผู้จัดการคีย์ของคุณ คุณต้องปกป้องมันเช่นกัน ด้วยคีย์ส่วนตัวนั้นมอบความเป็นเจ้าของของสินทรัพย์อย่างเต็มที่ หากมีใครก็ตามที่สามารถเข้าถึงคีย์ของคุณได้พวกเขาสามารถขโมยสินทรัพย์ของคุณได้
การเก็บรักษาสินทรัพย์ด้วยตัวเองสำหรับบุคคล – กระเป๋าเงิน Ledger (Ledger wallets)
นี่เป็นสิ่งที่ Ledger จะเข้ามามีบทบาท เราสร้างกระเป๋าเงินฮาร์ดแวร์ที่สามารถให้ความปลอดภัยในระดับสูงสุดและความเป็นเจ้าของในพื้นที่ มอบพลังให้แก่ผู้ใช้งานเพื่อสามารถจัดการคีย์ของพวกเขาได้อย่างปลอดภัย เมื่อคุณใช้กระเป๋าเงิน Ledger คีย์ของคุณจะถูกสร้างขึ้นและปกป้องโดยชิปประมวลผลความปลอดภัยที่เรียกว่า Secure Element ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกันที่ถูกใช้มานานกว่าทศวรรษโดยธนาคารและรัฐบาลเพื่อปกป้องข้อมูลความลับในบัตรธนาคารและหนังสือเดินทาง
– โดยชิปประมวลผลความปลอดภัยนี้ได้รองรับการป้องกันการโจมตีในรูปแบบทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ซึ่งคีย์ของคุณจะถูกปกป้องอยู่เมื่ออุปกรณ์ไม่ได้ทำงานและในขณะใช้งานทำธุรกรรมอยู่
– ณ วันนี้ ฮาร์ดแวร์ความปลอดภัยนั้นเป็นทางเดียวที่จะปกป้องคีย์ส่วนตัวได้ ตามที่กระเป๋าเงินซอฟต์แวร์สามารถถูกโจรกรรมได้อย่างงายได้หากคอมพิวเตอร์หรือมือถือกำลังใช้งานกระเป๋าเงินที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย
.
นอกเหนือจากฮาร์ดแวร์ความปลอดภัยแล้ว Ledger ยังสร้างกลไกระบบความปลอดภัยที่มีเอกลักษณ์ อย่าง The Ledger Trusted Display เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ใช้งานนั้นอยู่ในการควบคุมตลอดเวลา
– เมื่อคุณใช้ Ledger ในการลงนามยืนยันการทำธุรกรรม หน้าจอที่คุณใช้เพื่อตรวจสอบและอนุมัติรายการธุรกรรมนั้นจะถูกเรียกว่า Trusted Display เป็นวิธีที่อุปกรณ์และหน้าจอถูกออกแบบมาเพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่าสิ่งที่คุณเห็นและการอนุมัติบนหน้าจอนั้นเป็นรายการธุรกรรมที่ถูกต้องและจะถูกลงนามยืนยันโดยอุปกรณ์
– การป้องกันต่อมัลแวร์ที่สามารถโจมตีกระเป๋าเงินซอฟต์แวร์โดยการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของรายการธุรกรรมที่คุณกำลังจะลงนามยืนยัน ยกตัวอย่างเช่น คุณคิดว่าคุณกำลังจะส่ง 1 BTC ให้กับเพื่อนของคุณในขณะที่การแสดงผลรายการธุรกรรมที่คุณจะลงนามยืนยันจริงๆ แล้วกำลังจะส่ง 100 BTC ไปยังผู้โจรกรรม
– ฟีเจอร์ความปลอดภัยนั้นเป็นเอกลักษณ์ของ Ledger ที่จะมอบพลังให้แก่ผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริงเพื่อให้มั่นใจได้ว่าการควบคุมทั้งหมดของสิ่งที่กำลังจะถูกลงนามยืนยันนั้นถูกควบคุมโดยเจ้าของอย่างแท้จริงซึ่งมีความสำคัญต่อวิธีการเก็บรักษาสินทรัพย์ด้วยตัวเอง
.
ท้ายที่สุดผู้ใช้งานสามารถเชื่อ Ledger ได้เนื่องจากอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับ Ledger เมื่อคุณใช้ Ledger คุณสร้างคีย์ของคุณเองและ ได้รับรหัสสำหรับการกู้คืนที่สามารถทำให้มั่นใจได้ว่าคุณสามารถกู้คืนคีย์ของคุณและสินทรัพย์ได้ทุกเวลาภายนอก Ledger ซึ่งเราเป็นเพียงผู้มอบเทคโนโลยีเท่านั้นแต่ผู้ใช้งานจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับองค์กรและได้รับอำนาจการควบคุมคีย์และสินทรัพย์ของพวกเขาเองได้อย่างเต็มที่ตลอดเวลา
การเก็บรักษาสินทรัพย์ด้วยตัวเองสำหรับองค์กร – ตู้นิรภัย Ledger (Ledger Vault)
การเก็บรักษาสินทรัพย์ด้วยตัวเองนั้นไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะสำหรับผู้ใช้งานรายย่อยอย่างเดียวเท่านั้น ในระบบนิเวศที่ยังคงมีการขึ้นอยู่กับองค์กรคู่ค้าแบบรวมศูนย์ นี่จึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่องค์กรต่างยอมรับการเก็บรักษาสินทรัพย์ด้วยตัวเองเช่นกัน
.
ตามที่ได้ยกตัวอย่างไปการล้มละลายของ FTX นั้นสร้างผลกระทบต่อเนื่องมากมายที่ทำให้หลายองค์กรที่ไม่ได้บริหารจัดการคีย์ของพวกเขาเองและอำนาจไปขึ้นอยู่กับ FTX ในการบริหารจัดการสินทรัพย์ของพวกเขาซึ่งได้รับผลกระทบจากการกระทำของ FTX โดยหายนะที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ส่งผลกระทบไปยังองค์กรอื่นๆ และ ผู้ใช้งานที่ไม่ได้เป็นลูกค้าของ FTX เองอีกด้วย
.
การที่จะเพิ่มความสามารถในการปรับตัวดูแลตัวเองโดยรวมของระบบนิเวศ องค์กรต่างๆ ควรที่จะบริหารจัดการคีย์ของตัวเองและเก็บรักษาสินทรัพย์ของตัวเองให้แยกออกจากผู้เล่นรายอื่น ดังนั้นถ้าหากมีองค์กรหนึ่งเกิดการล้มละลายมันจะไม่ส่งผลกระทบไปยังองค์กรอื่นๆ และลดผลกระทบต่อเนื่องที่จะเกิดขึ้นในวงกว้าง
.
แต่อย่างไรก็ตามการเริ่มการเก็บรักษาสินทรัพย์ด้วยตัวเองในรูปแบบองค์กรนั้นจะมาพร้อมกับความท้าทายเช่นกัน ซึ่งในฐานะองค์กรคุณต้องปกป้องคีย์ของคุณจากทั้งนักโจรกรรมภายนอกที่พร้อมจะขโมยคีย์ของคุณและปัจจัยเสี่ยงภายใน เช่น การบกพร่องในการบริหารจัดการสินทรัพย์ภายในองค์กร
.
โดยหนึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดว่ามีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดการล้มละลายของ FTX นั่นคือการบกพร่องในการบริหารจัดการสินทรัพย์ บางคนภายในองค์กรมีสิทธิ์การเข้าถึงคีย์ส่วนตัวขององค์กรและสามารถที่จะทำรายการธุรกรรมที่ผิดกฏหมายได้โดยปราศจากการสังเกตการณ์ขององค์กร เพื่อหลีกเลี่ยงความบกพร่องเหล่านี้องค์กรจำเป็นที่จะต้องมีการจัดตั้งระบบการบริหารขึ้นเพื่อควบคุมวิธีการถูกใช้งานของคีย์ภายในองค์กร
.
ซึ่งที่ Ledger เราสร้างแพลตฟอร์ม Ledger Vault เพื่อแก้ปัญหาความท้าทายในการเก็บรักษาสินทรัพย์ด้วยตัวเองในรูปแบบขององค์กร
.
Ledger Vault คือ กระเป๋าเงินฮาร์ดแวร์ที่มีหลายการลงนามพร้อมการฝังระบบการบริหารเพื่อจัดการกับคีย์ของคุณได้อย่างปลอดภัยในรูปแบบขององค์กร มันเป็นโซลูชันเต็มรูปแบบของการเก็บรักษาสินทรัพย์ด้วยตัวเองที่รวมเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ความปลอดภัยของ Ledger และ กรอบการทำงานของระบบบริหารที่แตกต่าง เพื่อปกป้องคีย์ทั้งจากปัจจัยเสี่ยงภายนอกและการบกพร่องในการบริหารจัดการจากภายในองค์กร
หากต้องการที่จะศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Ledger Enterprise และ Ledger Vault สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ enterprise.ledger.com
*อ้างอิงข้อมูลจากบทการบรรยาย Ledger
คำเตือน: คริปโทเคอร์เรนซีมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
You might also like
More from เกี่ยวกับการสอน
6 เครื่องมือพื้นฐานช่วยนักเทรดวิเคราะห์กราฟเทคนิค
📈เปิดตัวช่วยที่จะทำให้เหล่านักเทรดสามารถวิเคราะห์ได้ดีขึ้นกับ 6 เครื่องมือพื้นฐานช่วยนักเทรดวิเคราะห์กราฟเทคนิคบนแอปบิทาซซ่า มาดูกันเลย! . เริ่มต้นกันที่แทบเมนูเครื่องมือแนวนอนด้านบนกันก่อน 1️⃣เครื่องมือเลือกประเภทกราฟ เหล่านักเทรดสามารถเลือกประเภทกราฟตามความถนัดกันได้เลยไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของ Bars Line Area หรือ ประเภทที่ยอดนิยมสุดคือ แบบ Candles ที่เรารู้จักกันในชื่อของกราฟแท่งเทียนนั่นเอง 2️⃣เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค นักเทรดสามารถใช้ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ในตลาดมาประกอบกันเช่น ราคา ปริมาณซื้อ-ขาย เวลา ประกอบกับหลักจิตวิทยาการเทรดเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มของตลาดจนสามารถประเมินจังหวะการลงทุนอย่างเเม่นยำยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Relative Strength Index …
#BitazzaCampusTour ครั้งที่ 1
🧒🏻👦🏻💎ชาว BU พักคลาสแล้วออกมาเจอกันหน่อย! #BitazzaCampusTour ครั้งที่1 ทีมบิทาซซ่าออกสัญจรพบปะน้องๆนักศึกษา ม.กรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต ตั้งแต่วันที่ 14 – 16 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 – 16.00 น. ที่ …
3 ข้อคิดดึงสติให้คุณกลับสู่เป้าหมายการลงทุน
เข้าปี 2566 มาสองเดือนแล้ว ตลาดคริปโตยังคงอยู่ในสภาวะตลาดหมีที่เคลื่อนไหวไร้ทิศทาง แถมยังมีข่าวความเคลื่อนไหวจากทั่วโลกให้เราเกาะติดสถานการ์ณรายวัน เชื่อว่านักลงทุนหลายๆท่านโดยเฉพาะผู้ที่พึ่งก้าวเข้ามาอาจงงจน “หลงทาง” ไหนจะเงินลงทุนที่ติดอยู่ในตลาด เราจะจัดการพอร์ทโฟลิโออย่างไร จะไปต่อหรือพอแค่นี้ เราจึงขอนำ 3 ข้อคิดการลงทุนที่เปรียบเหมือนการวิ่งมาราทอน เพื่อ #ดึงสติดึงใจนักลงทุน ให้กลับมาสู่เส้นทางที่ตัวเองตั้งเป้าหมาย แล้วไปให้ถึงอิสรภาพทางการเงินที่ตั้งใจไว้ . 1.การลงทุนคือ การวิ่งมาราธอน การลงทุนไม่ใช่การวิ่งแข่งสั้นๆที่ผู้ชนะจะใส่ให้สุดแรง แต่การลงทุนเหมือนการวิ่งมาราธอนระยะยาว ไม่มีทางลัด …