สรุปประเด็นจาก Special Live AMA: Fuse พันธมิตรผู้ร่วมสร้างระบบนิเวศของผลิตภัณฑ์วอลเล็ท Web3
นำโดยคุณอาท กวิน พงษ์พันธ์เดชา ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบิทาซซ่า และ คุณดีดี้ วิมลพรรณ วิบูลย์มา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการสื่อสารและการตลาดบิทาซซ่า ที่จะมาสรุปประเด็นที่น่าสนใจจากการร่วมพูดคุย ถามตอบกับคุณ Mark Smargon ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Fuse
รับชมไลฟ์ AMA กับ Fuse คลิปเต็มได้ที่นี่
ทำความรู้จัก Fuse
คุณ Mark Smargon เป็นผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Fuse และเป็นนักสร้างนวัตกรรมแบบเต็มตัวที่อยู่ในวงการคริปโตมาตั้งแต่ปี 2013 จนถึงปัจจุบันที่ได้มาสร้าง Fuse โดยเชื่อว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนและคริปโตจะมาเป็นพื้นฐานในการสร้างนวัตกรรมที่มาทดแทนเงินสดหรือการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ที่เรียกว่า Payment network สมัยใหม่ ทำให้การจ่ายเงินถูกลง เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และไร้คนกลาง
ในความคิดเห็นของคุณ Mark Smargon ที่อยู่ในวงการมามากกว่า 10 ปี มองเห็นเทรนอะไรที่เป็นรูปธรรมบ้าง?
เทรนของการทำ open source เมื่อคนได้ใช้สิ่งนี้แล้วมีความเป็นไปได้ยากที่จะเลิกใช้เนื่องจากประสิทธิภาพของ ความโปร่งใส การเขียนโค้ดที่มีการแชร์กัน มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม รวมไปถึงสถาบันทางการเงินก็ให้ความสนใจในเทคโนโลยีนี้มากขึ้นเช่นกัน
ทำไมเทคโนโลยีของการชำระเงินจึงมีความสำคัญ?
คริปโตก็เหมือนกับสิ่งอื่นที่ต้องใช้เวลาในการสร้างขึ้นมา ซึ่งเมื่อเป็นเรื่องของการเงินหรือการใช้จ่ายที่มีความละเอียดอ่อนนั้นไม่สามารถที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงทันทีได้ง่ายเพราะหากเกิดข้อผิดพลาดจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง รวมไปถึงกฏการกำกับดูแลที่มาจากฝั่งภาครัฐ จึงเป็นผลทำให้เทคโนโลยีนั้นพัฒนาช้ากว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งคุณ Mark Smargon อยากสร้างเครื่องมือเพื่อสนับสนุนให้คนสามารถนำไปต่อยอดใช้สร้างผลิตภัณฑ์โดยมีต้นทุนที่ถูกลงและจะส่งผลให้การสร้างนวัตกรรมได้ง่ายข้ึนอีกทั้งเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดอีกด้วย
การที่มีเหตุการณ์แย่ๆ เกิดขึ้นในวงการของคริปโตจะส่งผลถึงการกำกับดูแลอย่างไร? รวมไปถึงสภาวะตลาดหมีที่กำลังเกิดขึ้น คุณ Mark Smargon มีการจัดการกับเรื่องเหล่านี้อย่างไร?
หากเปรียบเทียบสภาวะตลาดหมีเมื่อหลายปีก่อนจะสามารถเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเนื่องจาก ณ ปัจจุบัน ในเหรียญคริปโตต่างๆ เช่น สเตเบิลคอยน์ยังมีจำนวนการหมุนเวียนอยู่ในตลาดเป็นปริมาณมาก หรือ อย่างเครือข่าย Ethereum เองก็ยังคงมีจำนวนการทำธุรกรรมอยู่มากมาย รวมไปถึงนักพัฒนาก็ยังคงเดินหน้าพัฒนาต่อไป ซึ่งทำให้คุณ Mark Smargon มองในแง่บวกสำหรับสภาวะตลาดหมีรอบนี้ว่า ไม่ได้เป็นสภาวะตลาดที่ควรจะยอมแพ้ แต่เป็นเวลาแห่งการสร้าง การทดลองการปล่อยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เนื่องจากในช่วงสภาวะตลาดกระทิงนั้นทุกอย่างเดินหน้าเร็วไปหมด ทำอะไรก็ดีไปหมด จึงทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นมานั้นดีจริงหรือไม่ซึ่งในทางกลับกันช่วงสภาวะตลาดหมีจะทำให้รู้ว่าสิ่งที่สร้างขึ้นมานั้นดีจริงหรือไม่
มีกลยุทธ์ในการดึงดูดนักพัฒนาเข้ามาในระบบนิเวศอย่างไร?
Fuse ไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อแข่งกับ Ethereum หากลองมองจำนวนคนที่ใช้บล็อกเชนจริงๆแล้วมีคนใช้เพียง 30 ล้านคน เท่านั้น ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งโลก Fuse จึงให้ความสนใจที่จะไปดึงดูดนักพัฒนาจาก Web2 และลูกค้าใหม่ๆ ที่ไม่เคยเข้ามาในโลกแห่งเทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อสร้างการยอมรับ
การทำให้เทคโนโลยีบางอย่างเป็นประชาธิปไตย
สิ่งที่คุณ Mark Smargon เชื่อมั่นมาตลอดคือผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ทุกคนในโลก คนที่มีรายได้ต่ำอาจจะต้องมีการจ่ายค่าบริการทางการเงินที่สูงกว่าคนที่มีรายได้สูงกว่าทั้งระดับปัจเจกบุคคลและระดับประเทศที่ด้อยพัฒนามีโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงินในต้นทุนที่สูง เขาจะใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนอย่างไรให้มาตอบโจทย์เพื่อช่วยคนเหล่านี้ได้โดยประเทศส่วนใหญ่ถูกขับเคลื่อนด้วยธุรกิจขนาดเล็กและกลางเป็นหัวใจหลักที่ทำให้เศรษฐกิจนั้นไปต่อได้ซึ่ง Fuse เองเปรียบเสมือนเป็นบล็อกเชนทางธุรกิจที่มีกลุ่มเป้าหมายสำหรับภาคธุรกิจแบบ B2B และมีความตั้งใจที่จะมาบริการภาคธุรกิจเหล่านี้ในฐานะโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและมีต้นทุนต่ำ
ระบบนิเวศ Fuse ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
-บล็อกเชนเลเยอร์ 1 ที่คนจะมาทำธุรกรรม
-กรณีการใช้งานจริงใหม่ๆ ของการชำระเงินในรูปแบบ B2B และ P2P
-เครื่องมือช่วยเหลือที่ทำให้ภาคธุรกิจสามารถเข้ามาใน Web3 ได้ง่ายและสะดวกสบายมากขึ้น
Web3 คืออะไร?
Web1 -Read only สามารถอ่านได้อย่างเดียว เว็บไซต์เปล่าที่ให้ข้อมูล ทำอะไรมากไม่ได้
Web2 -Read / Write สามารถอ่านและเขียนข้อความ เว็บไซต์สามารถเรียนรู้ความชอบของเราหรือที่เรียกว่าอัลกอริธึม มีการตอบสนองเกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตามผู้ใช้งานมีความกังวลใน Web2 เนื่องจากบริษัทยักษ์ใหญ่เป็นเจ้าของข้อมูลและนำเอาข้อมูลของผู้ใช้งานไปใช้ประโยชน์ เช่น การขายข้อมูล เรียนรู้พฤติกรรมเพื่อมายิงโฆษณาขายของ
Web3 -Read / Write / Own สามารถอ่าน เขียน และเราเป็นเจ้าของข้อมูลจริงๆ โดยไม่ต้องไปฝากใครสามารถทำให้ต่อยอดการเกิดขึ้นของวอลเล็ท Self-Custody, DeFi หรือ Metaverse
ความร่วมมือระหว่าง Bitazza และ Fuse
คุณ Mark Smargon ตื่นเต้นกับการร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์แอปวอลเล็ท Web3 เป็นอย่างมากเนื่องจากร่วมพัฒนากันมาค่อนข้างนาน โดยจนมาถึงวันนี้แอปวอลเล็ท Web3 มีฟีเจอร์มากมายและสามารถเข้าไปช่วยแก้ปัญหารวมถึงตอบโจทย์กับภาคธุรกิจได้อย่างตรงจุด
Fuse 2.0
จะมีการประกาศแผนทิศทางของ Fuse ในต้นเดือน ก.พ. โดยอยากจะสร้าง narratives ใหม่ที่เป็นของ Fuse เองในแง่ของการชำระเงินและการยอมรับของภาคธุรกิจ โปรดรอติดตามการประกาศกันต่อไป
ในอุดมคติของ Fuse ใครคือกลุ่มเป้าหมายหลักที่เหมาะสมในการใช้งานเครือข่ายของ Fuse?
ภาคธุรกิจที่จะมาจ่ายค่าทำธรรมเนียมในฐานะผู้ให้บริการ เป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจที่ต้องการสร้างคอมมูนิตี้ มีปัญหาเรื่องการจ่ายเงินที่อาจทำได้ค่อยข้างยาก ซึ่งอยากให้บริการกับกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ เพื่อสามารถทำให้ธุรกิจนั้นดีขึ้น โดยเฉพาะหัวใจสำคัญอย่างเรื่องการชำระเงินที่ถูกลง เร็วขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Web3 จะมาตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวันได้อย่างไร และจุดเด่นของ Fuse คืออะไร เมื่อเทียบกับคู่แข่ง?
ในมุมมองของคุณ Mark Smargon มองว่า Web2 มีการนำเทคโนโลยีหลายอย่างมาประกอบกันเป็นรูปเป็นร่างในส่วนของ Web3 ก็เช่นกันไม่ว่าจะเป็นทั้งเทคโนโลยีบล็อกเชนและโมเดลทางธุรกิจมาประกอบกัน ซึ่งในมุมมองของผู้บริโภคนั้นอาจจะไม่ได้รับรู้ว่าใช้บล็อกเชนอยู่ ได้รับบริการที่ดีขึ้น ต้นทุนถูกลง เร็วขึ้น เลยเป็นจุดที่ Fuse ไม่ได้มีการแข่งขันในทิศทางที่ทำอยู่เนื่องจากมุ่งเน้นความสนใจไปยังภาคธุรกิจเลยมีจุดเด่นที่ไม่เหมือนคนอื่น
จุดแข็งไหนของ Fuse ที่สร้างความน่าเชื่อถือและมั่นใจได้อย่างไรโดยเฉพาะกับวอลเล็ทต่างๆที่จะมาใช้โครงสร้างพื้นฐานของ Fuse?
การสร้างความน่าเชื่อถือหรือความเชื่อใจนั้นต้องการระยะเวลาในการสร้าง ให้คนเรียนรู้ผลิตภัณฑ์และมาลองใช้จริงเพื่อให้รู้ว่ามีการทำงาน มีประสิทธิภาพอย่างไร และจะทำให้เกิดความเชื่อมั่นขึ้นว่าเทคโนโลยีนี้ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อเก็งกำไรกันอย่างเดียวแต่มันจะสามารถช่วยให้ธุรกิจดีขึ้นได้ ซึ่งต้องใช้เวลาในการยอมรับ
มุมมองของคุณ Mark Smargon ต่อสกุลเงินดิจิทัลจากรัฐบาลกลาง (CBDC) จะมีผลกระทบอย่างไรบ้าง?
ในมุมมองของคุณ Mark Smargon มองว่าเป็นสิ่งที่รัฐบาลออกมาต่อกรกับ Bitcoin โดยเฉพาะกับรัฐบาลจีนเพื่อใช้เป็นเครื่องในการควบคุมมากกว่า และเชื่อว่า CBDC จะไม่ได้มาแข่งกับคริปโตโดยตรงเพราะว่าอยู่คนละตลาดกัน
ถ้ามุ่งเน้นความสนใจไปในเรื่องของการชำระเงินและมีการกำกับดูแลเข้ามาเกี่ยวข้องจะส่งผลต่อระบบนิเวศหรือไม่?
การกำกับดูแลจะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์วิกฤตซึ่งต้องมีส่วนร่วมในการพูดคุย ทั้งสองฝ่าย อะไรคือสิ่งที่ผู้กำกับดูแลต้องการคุ้มครองนักลงทุนอย่างไรนักสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีต้องมีส่วนร่วมเข้ามาในการพูดคุยเพื่อให้การกำกับดูแลไปในทางบวกไม่ปิดกั้นนวัตกรรม
อะไรที่ทำให้ คุณ Mark Smargon ตื่นมาทำงานอย่างมีกำลังใจในทุกๆวัน?
โดยพื้นฐานแล้วเป็นนักสร้างและถึงแม้ว่าตลอด 6 เดือนที่ผ่านมาจะเป็นสภาวะตลาดหมีแต่กลับมีความสุขการทำงานมาก สามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างเต็มที่โดยไม่ได้มีความกดดันของเรื่องราคาเข้ามา สุดท้ายแล้วจะกลับมาแข่งกันที่ว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการของใครดีกว่ากัน ใช้เวลาที่ผ่านมาเป็นโอกาส ลองผิดลองถูก ในการร่วมสร้างโปรเจกต์ต่างๆ โดยไม่มีอะไรมากวนใจ
สรุป
สิ่งที่เราเห็นได้ชัดๆ เลยคือไม่ว่าจะตลาดหมีเรายังเห็นนักพัฒนาที่ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาและมีความเชื่อในวงการนี้อยู่ อย่าง คุณ Mark Smargon ที่ผ่านเหตุการณ์วิกฤตมามากมาย ซึ่งในวงการคริปโตต้องการพลังงานแบบนี้ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตามก็ยังยึดมั่นกับอุดมการณ์ในการสร้างเทคโนโลยีที่ให้อำนาจผู้ใช้งาน มากกว่าให้อำนาจผู้สร้าง ดังนั้นไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตามในวงการนี้ตราบใดที่ยังมีคนเชื่อมั่นให้คนเข้ามาพัฒนาต่อไป ซึ่งจะทำให้วงการนี้เดินต่อไปได้และหวังว่าในปีใหม่นี้จะเห็นผู้เล่นใหม่ๆ เข้ามาในวงการ
*บุคลากรในสื่อเป็นบุคลากรของบริษัท บิทาซซ่า จำกัด และ Fuse.io สื่อนี้จัดทำขึ้นโดยบริษัท บิทาซซ่า จำกัด ในฐานะเป็นพาร์ทเนอร์ทางการตลาดของบริษัท Freedomverse จำกัด และผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีบล็อกเชน
คำเตือน: คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
You might also like
More from เกี่ยวกับการสอน
4 เอกลักษณ์สำคัญของคริปโทเคอร์เรนซีที่ถูกยอมรับในโลกแห่งการเงิน
เป็นเวลากว่า 14 ปี แล้วที่คริปโทเคอร์เรนซีนั้นได้ถือกำเนิดขึ้นและได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวงการทางการเงินของโลกไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งได้ผ่านร้อนผ่านหนาว เกิดเหตุการณ์วิกฤตครั้งใหญ่มากมายทั้งในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องและช่วงสภาวะตลาดหมี ถึงแม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้น แต่ทำไมยังมีผู้เล่นหน้าใหม่ในภาคอุตสาหกรรมการเงินที่ยังคงก้าวเข้าสู่โลกแห่งคริปโทเคอร์เรนซีอยู่ตลอด ดังนั้นวันนี้มารู้จักกับ 4 เอกลักษณ์สำคัญของคริปโทเคอร์เรนซีที่ถูกยอมรับในโลกแห่งการเงิน การกระจายศูนย์ ในสกุลเงินหลักของแต่ละประเทศ จะมีหน่วยงานกลางและธนาคารควบคุมระบบการเงินอย่างชัดเจน ซึ่งแตกต่างกับสกุลเงินดิจิทัล ที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน โดยทุกๆ ธุรกรรมที่เกิดขึ้นจากผู้ใช้งานสามารถประมวลผลและตรวจสอบได้ด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ไม่ผ่านตัวกลาง และไม่มีการแทรกแซงจากหน่วยงานกลางใด ทำให้สกุลเงินดิจิทัลคงมูลค่าและใช้งานจริงได้ . ข้อมูลที่โปร่งใสและเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ของข้อมูลธุรกรรมบนบล็อกเชนทำให้สกุลเงินดิจิทัลเกิดความปลอดภัย เพราะแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ใครก็ตามนอกจากเจ้าของคีย์ส่วนตัวที่เกี่ยวข้องจะย้ายสินทรัพย์ดิจิทัลของตน และข้อมูลธุรกรรมจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อบันทึกลงในบล็อกเชนแล้ว . จำนวนอุปทานเหรียญที่จำกัด สกุลเงินหลักของประเทศต่างๆนั้นสามารถผลิตออกมาได้มีไม่จำกัด เนื่องจากธนาคารกลางสามารถพิมพ์สกุลเงินได้มากเท่าที่ต้องการ …
สรุปประเด็นการบรรยายหัวข้อ “ยุคหลังเหตุการณ์ FTX: เส้นทางสู่ความโปร่งใสและความจำเป็นสำหรับการกำกับดูแลด้วยตนเองของ CeDeFi” จากงาน Blockchain Thailand Genesis 2022
Blockchain Thailand Genesis 2022 การบรรยายภายใต้หัวข้อ “ยุคหลังเหตุการณ์ของ FTX: เส้นทางสู่ความโปร่งใสและสิ่งที่จำเป็นสำหรับการกำกับดูแลด้วยตนเองของ CeDeFi” โดย คุณอาท กวิน พงษ์พันธ์เดชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบิทาซซ่า ร่วมกับ คุณสัญชัย ปอปลี CEO Cryptomind Advisory คุณสัญชัย (Cryptomind …
สรุปประเด็นการบรรยายหัวข้อ “คริปโตและเทคโนโลยีบล็อกเชนจะช่วยดึงศักยภาพคนจำนวนมากผ่านการใช้งานจริงในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?” จากงาน Blockchain Thailand Genesis 2022
Blockchain Thailand Genesis 2022 การบรรยายภายใต้หัวข้อ “คริปโตและเทคโนโลยีบล็อกเชนจะช่วยดึงศักยภาพคนจำนวนมากผ่านการใช้งานจริงในชีวิตประจำวันได้อย่างไร?” โดย คุณดีดี้ วิมลพรรณ วิบูลย์มา ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการสื่อสารและการตลาดบิทาซซ่า ความท้าทายของอุตสาหกรรมการเงิน ณ ปัจจุบัน ในยุคก่อนที่เทคโนโลยีบล็อกเชนจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมทางการเงินนั้นผู้คนยังคงเข้าถึงบริการทางการเงินแบบดั้งเดิมได้ยากและมีการบริหารแบบรวมศูนย์อยู่จึงทำให้มีปัญหาในเรื่องความโปร่งใส นอกจากนี้ทางภาคธุรกิจระดับ SME ที่ต้องการสร้างแอปพลิเคชันบน Web2 พบกับอุปสรรคในการใช้ทรัพยากรและมีต้นทุนในการสร้างที่สูง 4 สิ่งสำคัญที่มอบพลังให้กับผู้คน 1.อิสรภาพ 2.ความเป็นเจ้าของ 3.สิทธิและหน้าที่ 4.การเข้าถึง นอกจากนี้เทคโนโลยีบล็อกเชนและสัญญาอัจฉริยะทำให้ผู้คนสามารถทำกิจกรรมอะไรหลายๆอย่างโดยที่ไม่มีตัวกลางได้ รวมไปถึงการมาถึงของเทคโนโลยี Web3 …